ตรวจสอบข้อมูลโดย: ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์
กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิด
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล
Enfa สรุปให้
เมื่อลูกยังเป็นทารก ระบบต่าง ๆ ในร่างกายยังทำงานได้ไม่เต็มที่ โดยเฉพาะระบบทางเดินอาหาร ซึ่งบ่อยครั้งที่คุณแม่มักพบว่า ลูกมีปัญหาเรื่องการขับถ่าย แต่กลไกธรรมชาติก็ให้ “นมแม่” มาเป็นโภชนาการที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย เพื่อเป็นทางออกสำหรับปัญหานี้ ทารกที่ได้รับนมแม่มักมีโอกาสท้องผูกน้อย เพราะนมแม่ย่อยง่ายและมีใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย
แต่บางครั้งคุณแม่ก็มีความจำเป็นที่ต้องให้ลูกกินนมผง หรือกินนมแม่สลับกับนมผง จากที่ไม่เคยมีปัญหาการขับถ่าย ก็พบว่าลูกถ่ายน้อยลง สิ่งเหล่านี้เกี่ยวข้องกับนมผงที่ลูกกินใช่หรือไม่ และจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร เรามาหาคำตอบกันค่ะ
คุณแม่บางคนมีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะให้ลูกกินนมแม่นานที่สุด แต่ด้วยความจำเป็นบางอย่างที่ไม่สามารถทำได้ คุณแม่จึงหาทางออกด้วยการให้ลูกกินนมแม่สลับนมผงหรือใช้วิธีผสมระหว่างนมแม่และนมผง
โดยบางคนอาจใช้วิธีสลับมื้อนม บางคนก็ใช้วิธีผสมนมแม่กับนมผงในขวดเดียวกัน ซึ่งสามารถทำได้โดยให้ชงนมผงตามสัดส่วนที่ผลิตภัณฑ์นมนั้น ๆ แนะนำก่อน แล้วจึงเทใส่ขวดที่เตรียมนมแม่ไว้ (ไม่แนะนำให้ละลายนมผงลงในนมแม่โดยตรง) แล้วนำไปให้ลูกกิน
แต่ก็พบว่าลูกถ่ายน้อยลง ถ่ายยาก บางครั้งก็ท้องผูก ทั้งนี้เนื่องจากนมผงมีส่วนผสมที่อาจทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานมากขึ้น เช่น นมผงเสริมธาตุเหล็ก ก็จะทำให้ความถี่ในการขับถ่ายน้อยลง ถ่ายเป็นก้อนมากขึ้น สีเข้มขึ้น ร่างกายเด็กจะใช้เวลาในการปรับตัวนั่นเอง
เพื่อให้ลูกมีปัญหาการขับถ่ายน้อยที่สุด คุณแม่สามารถให้ลูกกินนมแม่สลับกับนมผงหรือใช้วิธีผสมนมแม่และนมผงในขวดเดียวกัน แล้วทารกแรกเกิดควรกินนมกี่ออนซ์และปรับการกินนมแม่สลับนมผงอย่างไร ดูคำแนะนำได้ดังนี้
สิ่งที่คุณแม่ควรทราบคือ การปรับเปลี่ยนวิธีกินนมแม่สลับนมผงนี้ ลูกอาจมีปัญหาการการขับถ่าย เช่น อาการถ่ายเป็นก้อนแข็ง เด็กท้องผูก หรือท้องเสียได้บ้าง แต่ประมาณ 5 - 7 วัน ลูกจะค่อย ๆ ปรับตัวกับนมใหม่ได้
คุณแม่จึงควรให้เวลาร่างกายลูกน้อยสักนิดในการปรับตัวกับวิธีกินนมแม่สลับนมผงนะคะ แต่ถ้าลูกยังมีปัญหาท้องผูก ถ่ายแข็ง หรือปัญหาขับถ่ายอื่นๆ อย่างต่อเนื่องควรปรึกษาคุณหมอ หรือเลือกนมผงที่ป้องกันปัญหาการขับถ่ายค่ะ
ในช่วงให้นมแม่ ลูกน้อยมักจะย่อยนมแม่ได้ดี ไม่ค่อยมีปัญหางอแง ร้องกวน จากอาการท้องอืด แหวะนม นั่นก็เพราะในนมแม่มีโปรตีนขนาดเล็กที่ย่อยง่าย ซึ่งดีกับระบบย่อยอาหารของเด็กเล็ก อีกทั้งนมแม่ยังอุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นสำหรับพัฒนาการสมอง
แต่เมื่อลูกน้อยเข้าสู่วัยที่ต้องหย่านมและเริ่มปรับเปลี่ยนไปกินอาหารตามวัยมากขึ้น ก็อาจทำให้ลูกน้อยมีอาการท้องอืด ท้องผูก แหวะนม หรือร้องกวนได้ ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ เนื่องจากระบบย่อยอาหารของเด็กเล็กยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์เหมือนกับของผู้ใหญ่ และยังต้องการเวลาปรับตัวให้คุ้นชินกับอาหารชนิดใหม่
เพื่อป้องกันอาการไม่สบายท้องต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงหลังหย่านม คุณแม่ควรมองหา “ทางเลือกในการเปลี่ยนที่ดีที่สุด” คุณแม่อาจมองหาโภชนาการที่ย่อยง่ายทีมี PHP หรือโปรตีนขนาดเล็กที่ย่อยมาแล้วบางส่วน ทำให้ย่อยและดูดซึมง่าย ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ลดอาการไม่สบายท้อง ควบคู่ไปกับสุดยอดสารอาหารสมองอย่าง MFGM ที่พบในนมแม่ ซึ่งประกอบไปด้วยโปรตีนและไขมันที่จำเป็นกว่า 150 ชนิด ได้แก่ เช่น สฟิงโกไมอีลิน ฟอสโฟลิปิด และแกงกลิโอไซด์ ก็จะช่วยให้ลูกน้อยผ่านช่วงหย่านมได้อย่างราบรื่น สบายท้องและเรียนรู้ไม่สะดุด
ตรวจสอบข้อมูลโดย: ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิดภาควิชากุมารเวชศาส...
อ่านต่อถ้าถามคุณแม่ว่าปัญหาเกี่ยวกับการขับถ่ายใดของลูกที่สร้างความกังวลให้คุณแม่มากที่สุด “ทารกท้องผูก” ...
อ่านต่อตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิดภาควิชา...
อ่านต่อ